พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือนมากกว่าสายอื่น

พระพรหมคุณาภรณ์

ที่ประเทศธิเบต พระพุทธศาสนาได้ถูกเก็บรักษาไว้ในวัดโดยพระ พระจะให้ความสนใจในคำสอนบางอย่าง และคำสอนนั้นก็จะแพร่หลายออกไป แต่ในประเทศที่เป็นเถรวาทมีธรรมเนียมว่า พระต้องรักษาคัมภีร์เดิมไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าพระสงฆ์เองจะสนใจหรือไม่

คุณจะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาในประเทศที่เป็นเถรวาท คำสอนต่างๆ ก็ถูกเก็บไว้ในวัดเหมือนกัน ในหลายยุคหลายสมัยในอดีต มีการเน้นคำสอนในบางส่วน อาตมาจะขอยกตัวอย่างให้เห็น เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ คุณจะเห็นได้ว่า ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แทบไม่มีคำสอนเกี่ยวกับเรื่องการครองเรือน เพราะว่าคัมภีร์ถูกเก็บรักษาไว้ในวัด ซึ่งการปฏิบัติจิตภาวนา ทำสมาธิ เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นเรื่องที่ทำได้โดยยาก จึงมีการเน้นในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่ถ้าเราหันกลับไปดูที่ต้นฉบับพระไตรปิฎกบาลี เราจะเห็นคำสอนเกี่ยวกับการครองเรือนอยู่มาก

นายมิวเซนเบิร์ก

กระบวนการคิดเรื่องเหตุและปัจจัย หรือเงื่อนไขที่เกิดขึ้น มีบางสิ่งที่น่าสนใจ ในแนวคิดแบบตะวันตก เรามีเรื่องเหตุและผล เหตุและเงื่อนไข ค่อนข้างเป็นกระบวนการคิดที่แตกต่าง ผมจึงคิดว่ามันมีประโยชน์ เมื่อผมพยายามนำมาใช้ ผมพบปัญหาที่เห็นได้ชัด คือ เหตุทำให้เกิดผล ผมคิดว่าความคิดเรื่องเหตุและเงื่อนไข สามารถเข้าใจได้จากต้นไม้ ถ้าเราหว่านเมล็ดพืชลงไปในดิน ให้น้ำ เมล็ดพันธุ์ก็จะแตกออกเป็นต้นไม้ เมล็ดพันธุ์ คือ เหตุ น้ำ และ ดิน คือ เงื่อนไข สำหรับการให้พืชแตกตัว

เมื่อเราพยายามวิเคราะห์ปัญหา เราพูดถึงเหตุ เราพูดถึงเงื่อนไข ที่นำไปสู่ปัญหา อะไรคือเงื่อนไขที่เราควรสร้างขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ดังนั้น ความคิดเรื่องเหตุและเงื่อนไข ผมคิดว่า เป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์ แต่บางครั้งผมพบว่า มันเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะระหว่าง อะไรคือเหตุ อะไรคือเงื่อนไข ถ้าเป็นเมล็ดพืชก็มองออกง่าย เพราะเมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกัน ให้ผลไม้อย่างเดียวกัน มันง่ายที่จะเข้าใจ แต่คำจำกัดความที่ผมสามารถเข้าใจได้ คือ ผลที่ได้รับ เป็นสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กับเหตุ ซึ่งเงื่อนไขเป็นเรื่องทั่วไป ผมจึงอยากจะทราบว่า ท่านสามารถจะช่วยผมในเรื่องนี้ได้หรือไม่

เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง