พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P. A. Payutto)

ต้องพัฒนา Intellectual Freedom
ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค

พระพรหมคุณาภรณ์

อาตมาว่า อันนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ขัดกัน (Conflict of Interests) อาตมาคิดว่ายังมีอีกประเด็นที่อยากจะพูดถึง คือ เราควรขยายความคำว่า “การแข่งขัน” เมื่อเราพูดถึงการแข่งขัน เราคิดว่ามันเป็นเพียงเรื่องในทางเศรษฐศาสตร์ ในทางธุรกิจ คือ การแข่งขันในธุรกิจหรือในทางเศรษฐศาสตร์ แต่มันก็เป็นแค่การแข่งขันระหว่างนักธุรกิจด้วยกัน องค์กรทางธุรกิจ และอื่นๆ เราควรขยายความหมายของคำว่า การแข่งขัน เพื่อให้ครอบคลุมการแข่งขันระหว่างผู้ผลิต หรือนักธุรกิจ กับคนจำนวนมาก หรือประชาชน ทำไมประชาชนไม่แข่งขันกับนักธุรกิจ และการแข่งขันในลักษณะนี้ มีความหมายว่า มันคือการขยายตัวของความหมาย เพื่อให้ครอบคลุมถึงการแข่งขันทางปัญญา

ในความเป็นจริง การแข่งขันทางด้านสติปัญญาคือแกนของการแข่งขันทางธุรกิจในทางเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันการแข่งขันทางสติปัญญาไม่ควรเป็นเพียงความฉลาดในเชิงเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจเท่านั้น มันสามารถขยายเพื่อครอบคลุมไปถึงการแข่งขันทางด้าน Spiritual ด้วย หมายความว่า เมื่อกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง อาตมาไม่คิดว่าจะเป็นคนจำนวนมาก อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าคนมีหลายระดับ คนจำนวนไม่มากนี้ควรจะ หรือ สามารถจะอยู่ในการพัฒนาระดับนี้ได้ และเมื่อพวกเขามีความรู้แจ้ง ที่เรียก Intellectual Freedom หรือ Mental Freedom และ Spiritual Freedom เขาจะสามารถแข่งขันกับนักธุรกิจได้

นายมิวเซนเบิร์ก

ผมไม่ค่อยเข้าใจครับ เรามีนักธุรกิจอยู่ข้างหนึ่ง และประชาชนอีกข้างหนึ่ง คนพวกไหนที่ท่านหมายถึงครับ ผู้บริโภค หรือใครครับ

พระพรหมคุณาภรณ์

ผู้บริโภค

นายมิวเซนเบิร์ก

ท่านหมายถึง ผู้บริโภคควรมีความสามารถที่จะแข่งขันกับนักธุรกิจได้ แข่งขันในแง่ไหนครับ ผมไม่เข้าใจ

พระพรหมคุณาภรณ์

ในทาง Intellectual และ Spiritual คือมีอํานาจในการสร้างอิทธิพลในวงจรธุรกิจ

นายมิวเซนเบิร์ก

ใช่ครับ ผู้บริโภคมีอํานาจมาก ถ้าเขาไม่ซื้อ ผู้ผลิตก็อยู่ไม่ได้ ขาดทุน เป็นอํานาจเด็ดขาดจริงๆ ด้วยครับ ใช่ครับ ผมเห็น ด้วย

The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.