ตั้งกระทรวงพุทธศาสนา เหตุผลที่แท้อยู่ที่ไหน

...เมื่อเขาเรียกร้องมา คนเรียกร้องจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ แต่มองลึกลงไปมันมีอะไร มันเป็นสัญญาณเตือนอะไรหรือเปล่า เมื่อมองในแง่ของผู้บริหารประเทศ ก็คือ ทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคม และ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ก็ต้องมองที่เนื้องานว่า เรื่องนี้กิจการนี้เป็นเรื่องใหญ่ไหม มีความสำคัญแค่ไหน มีปริมาณงานมากแค่ไหน... ถ้ามันเป็นเรื่องสำคัญก็ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาให้ชัดให้ตรงกับเรื่อง...

...เวลานี้วัดเป็นอย่างไร  วัดจำนวนมากหรือส่วนมากเสื่อมโทรม  ไม่สามารถทำหน้าที่  ไม่มีคุณภาพ  ไม่รู้จักบทบาทของตัวเอง  แล้วสังคมของเราส่วนใหญ่  ซึ่งอยู่ในชนบท  ดำรงอยู่ได้ด้วยฐานอันนี้... ในเมื่อสังคมเราแย่ขนาดนี้แล้ว องค์กรและสถาบันที่มีอยู่ไม่ทำหน้าที่ มันเสื่อมขนาดนี้แล้ว ถ้าจะให้สังคมดีขึ้น ไม่ให้สังคมนี้พินาศย่อยยับ ต้องรีบเอาใจใส่แก้ไข คุณจะมัวไปมองแค่เรื่องป้ายอย่างนั้นไม่ได้ ต้องมองตรงไปตรงมาว่ากิจการนี้ใหญ่ไหม หรือกิจการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานี้ มีมากมายเท่าไร ก็ศึกษากันดู...

...อย่างที่บอกแล้วว่าเมืองไทยมีวัดสามสี่หมื่นวัด มีพระสามสี่แสน ถ้ามองแบบศาสนาอื่น พระสงฆ์ที่บวชนี้เขาถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ศาสนา... มีกระทรวงไหนกี่กระทรวงมีเจ้าหน้าที่ หรือข้าราชการถึงสามสี่แสนคน... ถ้าว่าไปแล้ว เรื่องกิจการงานที่จะทำในเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนี่ มันไม่น้อยกว่ากระทรวงศึกษาธิการ หรืออาจจะไม่น้อยกว่ากระทรวงมหาดไทย...

...แปลกเหมือนกันว่า ทำไมคิดอยู่แค่นั้น ไปเถึยงกันอยู่แค่ว่า ชื่อศาสนานั้นชื่อศาสนานี้ ศาสนานั้นจะรังเกียจ จะแตกแยกอะไร ศาสนาเหล่านั้น เขาก็ต้องยอมรับความจริงอันนี้ ข้อสำคัญก็อยู่ที่ว่าจะต้องจัดอย่ีางไรให้มันดี คืองานนั้นจะต้องทำ จะปล่อยไม่ได้...

ภาษาไทย
ที่มาจาก การสนทนาธรรม แก่ พระนวกะ (พระใหม่) ณ วัดญาณเวศกวัน เมื่อ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๕
เป็นเล่มเดียวกับ คนไทยใจไม่แคบ แต่ระวังไว้: อย่าให้ปัญญาแคบ
พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม ๒๕๔๕
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๕
ISBN974-90723-3-2
เลขหมู่BQ4570.S6

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 1 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง