ชาวพุทธกับชะตากรรมของสังคม

"...พุทธศาสนายังมีส่วนมาก ในการที่จะบันดาลให้เกิดทั้งความเจริญและความเสื่อม ถ้าเขาเข้าใจถูกปฏิบัติถูก ก็จะทำให้เกิดความเจริญได้ ถ้าเขาเข้าใจพุทธศาสนาผิด เขาอาจจะทำให้เหมือนกับว่าพุทธศาสนาทำให้สังคมเสื่อม ถ้าหากชนชั้นนำของเรารู้เรื่องพูทธศาสนาดีก็อาจจะไปแก้ไขข้อนี้ได้ ที่ว่านี้รวมถึงความรู้เกี่ยวกับสถาบันด้วย ถ้าหากเราเข้าใจเรื่องวัดเรื่องพระดีแล้ว เราจะปฏิบัติต่อสังคมต่อชุมชน และต่อชาวบ้านแต่ละคนได้ดีขึ้น..."

"...อาจจะพูดให้แรงได้ว่า ในขณะนี้สังคมชาวพุทธของเราแตกสลาย แตกเป็นเสี่ยงๆ ในชุมชนเมืองสังคมชาวพุทธ พระสงฆ์กับชาวคฤหัสถ์สัมพันธ์กันน้อยเหลือเกิน และสถาพนี้กำลังแผ่ขยายไปในชนบท พระในชนบทเป็นผู้นำชาวบ้าน แต่การนำนี้เริ่มจะลดน้อยลง สภาพเช่นนี้ปรากฎมากขึ้นเรื่อยๆ และในระดับสูงสุด รัฐกับคณะสงฆ์ก็ไม่ประสานกันเหมือนสมัยโบราณ สมัยโบราณนี้พระสงฆ์กับพระเจ้าแผ่นดิน แม้จะเป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ยังมีความใกล้ชิ รู้เรื่องกันดีกว่าคณะสงฆ์กับรัฐบาลสมัยนี้ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถาบันสงฆ์ยังมีอิทธิพลมากในเมืองไทย ถ้าหากว่าสถาบันทั้งสองฝ่ายนี้ได้ประสานกันดี ก็จะช่วยให้การดำเนินกิจการด้านต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องดียิ่งขึ้น..."

"...ถ้าคติเถรวาท ก็เอาตัวแค่พอรอด คือเอาตัวให้พอรอด แต่มุ่งหน้าทำเพื่อประโยชน์สุขแก่คนทั่วไป ถ้าเอาคตินี้มาใช้ก็คงจะแก้ไขปัญหาสังคมปัจจุบันนี้ได้มาก เพราะสังคมปัจจุบันมันจะเอียงไปทางคติอย่างที่ว่าแล้ว คือเอาสบายแต่ตัว คนอื่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ถ้าเราใช้ชาวพุทธเป็นผู้ปรุงแต่งบันดาลชะตากรรมของสังคมไปในทางที่ดีงาม ก็ต้องให้ชาวพุทธทำตามหลักการของพระพุทธศาสนา หลักพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ก็ดังที่ที่อาตมาภาพเสนอให้ฟังนี่สุดแต่จะพิจารณากัน..."

คำโปรยนำมาจาก ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ (มีนาคม ๒๕๒๗) ดำเนินการพิมพ์โดย สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

LanguageThai
Sourcefrom ธรรมกถา ปาฐกถา for คุณอุดม เย็นฤดี ประธานกรรมการ พร้อมทั้งอดีตนายก สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการ สยามสมาคม และผู้มีเกียรติทั้งหลาย at สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ on/in 22 February 2523
Development
  • พิมพ์ครั้งแรก (๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๓) จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
  • พิมพ์ครั้งที่ ๒ (มีนาคม ๒๕๒๗) จัดพิมพ์โดย สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
First publishing28 July 2523
Latest publishing onPublishing no. 4 28 July 2523
ISBN974-7701-06-5
Dewey no.BQ4570.S6
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.